เมนู

[726] คนผู้เดียวเท่านั้นสามารถจะนำกามรส
ทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์
ใด ไม่สามารถจะนำมาให้ได้ ถึงสมบัติใน
แผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนำความสุขมาให้แก่
พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้.
จบ ธังกชาดกที่ 5

อรรถกถาธังกชาดกที่ 5


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า อญฺเญ โสจนฺติ โรทนฺติ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ส่วนในชาดกนี้ พระราชาประทานยศใหญ่แก่อำมาตย์ผู้อุปการะช่วย
เหลือพระองค์ ภายหลังทรงเชื่อถือถ้อยคำของผู้ยุยง จึงจองจำอำมาตย์
นั้นแล้วให้ขังไว้ในเรือนจำ. อำมาตย์นั้นนั่งยู่ในเรือนจำนั้นแหละ
ทำโสดาปัตติมรรคให้บังเกิดแล้ว. พระราชาทรงกำหนดได้ถึงคุณความ
ดีของอำมาตย์นั้น จึงรับสั่งให้ปล่อยจากเรือนจำ. อำมาตย์นั้นจึง
ถือของหอมและดอกไม้ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
นั่งอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามอำมาตย์นั้นว่า เขาว่า
ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านหรือ เมื่ออำมาตย์

นั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ก็มาถึง
ข้าพระองค์ ด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ โสดาปัตติมรรคบังเกิด
แล้ว พระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่แต่ท่าน
เท่านั้น จะนำเอาประโยชน์มาด้วยสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ แม้
โบราณกบัณฑิตทั้งหลายก็นำมาแล้ว อันอำมาตย์นั้นทูลอาราธนา
แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ใต้บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามพระโพธิสัตว์
นั้นว่า ฆฏกุมาร. สมัยต่อมา ฆฏกุมารนั้น เรียนศิลปะในเมืองตักก-
ศิลาแล้วครองราชสมบัติโดยธรรม. อำมาตย์คนหนึ่งในภายในพระ-
ราชวังของพระราชานั้นคิดประทุษร้าย. พระราชานั้นทรงทราบโดย
ชัดแจ้งจึงให้ขับไล่อำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น. ครั้นนั้น พระเจ้า
ธังกราชครองราชสมบัติในนครสาวัตถี. อำมาตย์นั้นได้ไปยังราชสำ-
นักของพระเจ้าธังกราชนั้นอุปัฏฐากท้าวเธอ ให้เชื่อถือคำของตน โดย
นัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ แล้วให้ยึดราชสมบัติในนคร
พาราณสี. พระเจ้าธังกราชนั้น ครั้นยึดราชสมบัติได้แล้ว ให้เอาโซ่
ตรวนพันธนาการพระโพธิสัตว์ไว้ แล้วส่งให้เข้าไปอยู่ในเรือนจำ.
พระโพธิสัตว์ทำฌานให้บังเกิดแล้วนั่งขัดสมาธิอยู่ในอากาศ. ความ
เร่าร้อนตั้งขึ้นในพระสรีระของพระเจ้าธังกราช ท้าวเธอจึงไปได้เห็น

หน้าพระโพธิสัตว์มีสง่างามดุจแว่นทองและดอกบัวบาน เมื่อจะถาม
พระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถาที่ 1 ว่า :-
ชนเหล่าอันเศร้าโศก ร้องไห้อยู่ ชน
เหล่าอื่นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา ส่วนพระองค์
เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูก่อนฆฏราชา
เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเญ หมายถึงว่ามนุษย์ที่เหลือ
เว้นพระโพธิสัตว์นั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่เศร้าโศกแก่พระ-
เจ้าธังกราชนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ความเศร้าโศกหาได้นำสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
มาได้ไม่ หาได้นำความสุขในอนาคตมาได้ไม่
ดูก่อนธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึง
ไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศก
ย่อมไม่มี.
บุคคลผู้เศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอม-
เหลืองและไม่พอใจบริโภคอาหาร เมื่อเขาถูก
ลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้วเร่าร้อน
อยู่ พวกศัตรูย่อมดีใจ.

ความฉิบหายอันมีความเศร้าโศกเป็นมูล
จักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ในบ้านหรือในป่า
ในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌาน
แล้วอย่างนี้.
ตนผู้เดียวเท่านั้นจะสามารถนำกามรส
ทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระราชาพระองค์
ใด ไม่สามารถจะนำมาให้ได้ถึงสมบัติใน
แผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนำความสุขมาให้แก่พระ-
ราชานั้นไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาพฺภตีตหโร แปลว่า นำสิ่งที่
ล่วงไปแล้วมาไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ขึ้น
ชื่อว่าความโศกย่อมนำเอามาอีกไม่ได้ซึ่งสิ่งที่ล่วงเลยดับลับหายไปแล้ว
บทว่า ทุตียตา ได้แก่ ความเป็นสหาย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าความโศกย่อมไม่เป็นสหายของใคร ๆ ในการที่จะนำเอาอดีต
มา หรือในการที่จะนำเอาอนาคตมา ด้วยเหตุแม้นั้น เราจึงไม่เศร้า-
โศก. บทว่า โสจํ แปลว่า เศร้าโศกอยู่. บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส
รุปฺปโต
ความว่า เมื่อบุคคลถูกลูกศรคือความโศกเสียบแทง คือถูก
ลูกศรคือความโศกกระทบอยู่ ศัตรูทั้งหลายย่อมดีใจว่า พวกเราเห็น
หลังข้าศึกแล้ว. บทว่า ฐิตํ มํ นาคมิสฺสติ ความว่า ดูก่อนพระ-

สหายธังกราชความพินาศฉิบหายอันมีความโศกซึ่งมีสภาวะเป็นผู้ผอม-
เหลืองเป็นต้นเป็นมูล จักไม่มาถึงเราผู้สถิตอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใน
บรรดาบ้านเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า เอวํ ทิฏฺฐปโท ความว่า เรา
ได้เห็นบทแห่งฌานโดยประการที่ความพินาศฉิบหายนั้นยังไม่มาถึง.
บางอาจารย์กล่าวว่า บทคือโลกธรรม 8 ดังนี้ก็มี. แต่ในบาลีเขียนว่า
น มตฺตํ นาคมิสฺสติ ความตายจักไม่มาถึง. คำที่เขียนไว้นั้น ย่อม
ไม่มีแม้ในอรรถกถาทั้งหลาย.
ในคาถาสุดท้ายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ตนที่ชื่อว่านำมาซึ่งกามรส
ทั้งปวง เพราะนำมาซึ่งสรรพกามรสกล่าวคือฌานสุข เพราะอรรถว่า
น่าอยากได้น่าปรารถนา. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า. ก็ตนผู้เดียวละ
เว้นสหายอื่น ๆ เสีย ไม่อาจนำกามรสทั้งปวงมา คือไม่สามารถนำมา
ซึ่งกามรสทั้งปวง กล่าวคือความสุขในฌานทั้งปวงแก่พระราชาใด
ทรัพย์สมบัติในแผ่นดินแม้ทั้งสิ้นก็จักไม่นำความสุขมาให้แก่พระราชา
นั้น เพราะธรรมดาความสุข ย่อมไม่มีแก่ผู้เดือดร้อนเพราะกาม
ส่วนพระราชาผู้สามารถนำมาซึ่งความสุขในฌานอันเว้นจากความกระ-
วนกระวาย เพราะกิเลส ย่อมเป็นผู้มีความสุข. ส่วนเนื้อความของ
บาลีในคาถานี้ที่ว่า ยสฺสตฺถา นาลเมโก ดังนี้ก็มีนั้น ไม่ปรากฏแล.
พระเจ้าธังกราชได้สดับคาถาทั้ง 4 คาถา ด้วยประการดังนี้แล้ว
จึงขอษมาพระโพธิสัตว์แล้วมอบราชสมบัติคืน ได้เสด็จหลีกไปแล้ว.

ฝ่ายพระมหาสัตว์มอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลาย แล้วไปยังหิม-
วันตประเทศ บวชเป็นฤาษีมีฌานไม่เสื่อม ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าธังกราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระ-
อานนท์ ส่วนพระเจ้าฆฏราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาธังกชาดกที่ 5

6. การันทิยชาดก


ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย


[727] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่
กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะ
จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้ง
ก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.
[728] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง
จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็น
ขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.
[729] ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์
คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบ
เรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขา
นี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย
เปล่าเป็นแน่.
[730] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์
คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้
ราบเรียบได้ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้